หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Thai
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาไทย)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Thai)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Thai)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่ระบุ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    150 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทย พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง
  • ให้มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยเพื่อประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาชีพอิสระได้
  • ให้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ ภูมิใจในความเป็นไทย และมีเจตคติที่ดีต่อประเทศไทย
  • . ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้อย่างสร้างสรรค์ทันสมัย
  • ให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำมีโลกทัศน์กว้างไกลและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า นำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูลด้วยภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า และไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    • ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
    • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับการศึกษา และนักศึกษาต่างชาติต้องผ่านการศึกษาวิชาภาษาไทยในสถานศึกษาที่หน่วยงานของรัฐรับรองมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า หรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพภาษาไทย สำหรับผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด โดยทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้กำหนดให้ทดสอบสมรรถภาพทางภาษาไทย ถ้าทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จะต้องลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาปรับพื้นฐานภาษาไทย 10 รายวิชา โดยไม่นับหน่วยกิตในหลักสูตรและมีผลการเรียนเป็น S (Satisfactory) เท่านั้น

จบแล้วทำอาชีพอะไร

นักศึกษาที่จบหลักสูตร จะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ภาษาไทยและวรรณกรรมไทย มีทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เน้นการใช้ทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

เมื่อนักศึกษาเรียนจบหลักสูตรนี้แล้วสามารถประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้ เช่น

  • งานวิชาการทางภาษาไทย เช่น นักวิชาการอุดมศึกษา
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยหรือวรรณกรรม
  • งานที่ใช้ภาษาไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างชาติ เช่น วิทยากรในสถาบันสอนภาษา
  • งานอาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล

นอกจากนี้นักศึกษายังมีพื้นความรู้เพียงพอที่จะใช้ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาไทย วรรณกรรมไทย วรรณกรรมเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์  คติชนวิทยา พุทธศาสน์ศึกษา หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง


วิทยาเขตที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

3,910 จำนวนผู้เข้าชม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ประกาศ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top