สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา มมร ประจำปี ๒๕๖๒

      วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. ที่ห้องประชุมอาคารอาคารสุชีพ ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีประทานปริญญาบัตร ประจำปี ๒๕๖๒ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัย พระราชปฏิภาณโกศล, ผศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บัณฑิตใหม่และพุทธศาสนิกชนถวายการต้อนรับ

       ในพิธีประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๖๒ นี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานเมตตาให้ผู้ที่ได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยให้เข้ารับประทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา นักวิชาการ และ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จำนวน ๑๐ ราย ดังนี้ ๑. พระธรรมไตรโลกาจารย์ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ๒. พระธรรมวิสุทธาจารย์ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา ๓. แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง, รศ.ดร. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ) สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต ๔. ศ. (พิเศษ) ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ)​สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา ๕. ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ) สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต ๖. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี  สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ๗. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา การปกครอง ๘. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา การปกครอง ๙. รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา และ ๑๐. นางสุพัตรา เมนะพันธุ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา การปกครอง

       ในพิธีประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๖๒ นี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานเมตตาให้ผู้ที่ได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยให้เข้ารับประทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา นักวิชาการ และ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จำนวน ๑๐ ราย ดังนี้ ๑. พระธรรมไตรโลกาจารย์ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ๒. พระธรรมวิสุทธาจารย์ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา ๓. แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง, รศ.ดร. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ) สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต ๔. ศ. (พิเศษ) ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ)​สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา ๕. ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการ) สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต ๖. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี  สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ๗. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา การปกครอง ๘. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม) สาขาวิชา การปกครอง ๙. รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา และ ๑๐. นางสุพัตรา เมนะพันธุ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา) สาขาวิชา การปกครอง

         สำหรับพิธีประทานปริญญาบัตร ประจำปี ๒๕๖๒ นี้ สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน ๑๐ รูป/คน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน ๑๐ คน ปริญญามหาบัณฑิต จำนวน ๙๕ รูป/คน และปริญญาบัณฑิต จำนวน ๑,๒๕๘ รูป/คน รวมทั้งสิ้น ๑,๓๖๓ รูป/คน

           ภายหลังประทานปริญญาเสร็จแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประทานพระโอวาทความว่า “ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, บัณฑิตใหม่ และสาธุชนทุกท่าน ในโอกาสที่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับปริญญาบัตรในวันนี้ ขอถวายมุทิตาและขอแสดงมุทิตาแก่ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตทุกรูป ทุกคน ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันนำพามหาวิทยาลัย ให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ

       ในฐานะที่เราต่างก็สำเร็จการศึกษามาจากสถาบันนี้เหมือนกัน วันนี้จึงขอปรารภข้อคิดบางประการกับท่านสักเล็กน้อยเหมือนเช่นทุกปีในฐานะรุ่นพี่ พูดกับรุ่นน้องทุกท่านที่สำเร็จการศึกษา ล้วนเป็นผู้ทรงศักดิ์ และสิทธิ์ แห่งปริญญาบัตรสมตามภูมิรู้ที่ตนมีจากการศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี การได้รับศักดิ์และสิทธิ์เช่นว่านี้ เป็นเพียงพันธสัญญาเบื้องต้น ของการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาจากการศึกษาในมหาวิทยาลัย ไปใช้ประกอบกิจการงาน ให้บังเกิดความเจริญก้าวหน้าแก่การพระศาสนา และชาติบ้านเมือง ขอบัณฑิตทั้งหลายอย่าประมาท หลงผิดคิดไปว่าเมื่อมีปริญญา แปลว่ามีความรู้มากพอแล้ว ก่อให้เกิดทิฐิมานะว่าเป็นคนเก่งหรือคนดีกว่าคนอื่น ความนึกคิดเช่นนี้จัดเป็นกิเลสอันร้ายกาจอย่างหนึ่ง ซึ่งจักนำพาความเสื่อมมาสู่ตนและสังคมส่วนรวม

        สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายไว้ว่า “มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน” นั่นย่อมหมายถึงว่าสรรพวิชาความรู้ที่เราได้เล่าเรียนศึกษามาแล้ว หากไม่รู้จักเอาใจใส่ทบทวน และศึกษาเพิ่มเติม ในที่สุดก็ย่อมเป็นมลทิน และยังทรงสรุปความเป็นมลทินที่ร้ายแรงที่สุดไว้ว่า “มลทินที่ยิ่งกว่านั้น คือ อวิชชา เป็นมลทินอย่างยิ่ง” เพราะฉะนั้น จึงขอให้ทุกท่าน กวดขันตนเองให้มีความวิริยอุตสาหะในอันที่จะขวนขวายศึกษาเรียนรู้ในสรรพวิชชาอยู่เป็นนิตย์ เพื่อกำจัดอวิชชาให้เบาบางและหมดสิ้นไป บังเกิดคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ เป็นความงอกงามไพบูลย์ทั้งทางโลกและทางธรรม สมปณิธานปรารถนาของบัณฑิตผู้ต่างมุ่งหวัง ความเจริญก้าวหน้าด้วยกันทุกรูป ทุกคน

        ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ประกอบกับความมีดวงจิตหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรม จงดลบันดาลความงอกงามไพบูลย์ให้บังเกิดขึ้นแก่ชีวิตของบัณฑิต และขอให้ทุกท่านที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ จงประสบความสุขสวัสดีโดยทั่วกัน เทอญ”

      “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ตามพระดำริสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๘ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โปรดให้จัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

      มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย แบ่งส่วนงานจัดการศึกษาเป็น ๕ คณะ ได้แก่ คณะศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาไปในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ รวม ๗ วิทยาเขต ๓ วิทยาลัยและได้สนองงานของคณะสงฆ์ธรรมยุตในการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ   เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไพรัชประเทศ  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ดำเนินการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ตามแผนกลยุทธ์และพันธกิจอย่างเต็มความสามารถ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” สนับสนุนผู้สนใจศึกษาด้านพุทธศาสนาให้เข้าใจพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง มีองค์ความรู้ในการวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อยกระดับการเผยแผ่พุทธศาสนาสู่ระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านพุทธศาสนาที่เป็นที่ยอมรับ จนสามารถผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติตั้งแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน

288 จำนวนผู้เข้าชม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ประกาศ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top