หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Buddhism and Philosophy
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนาและปรัชญา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนาและปรัชญา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Arts (Buddhism and Philosophy)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.A. (Buddhism and Philosophy)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    36 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรระดับปริญญาโท
    5.2 ภาษาที่ใช้
    จัจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและต่างประเทศที่อ่านเขียนภาษาไทยได้
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญา มีความรู้ มีคุณธรรม
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจหลักพุทธศาสนาและปรัชญา ปรับใช้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนาและปรัชญามีภาวะผู้นำใช้ปัญญาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามที่หลักสูตรกำหนดจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอื่นๆ ซึ่งหลักสูตรปริญญานั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยให้การรับรอง
  • มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 จากระบบ 4 แต้ม
  • ผู้ที่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยอาจพิจารณารับเป็นนักศึกษาได้โดยพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ในกรณีที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศต้องมีคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
  • สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญา ต้องศึกษารายวิชาปรับพื้นฐานไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
  • มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติในทางเสียหาย ไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • รับราชการครู
  • รับราชการทหาร อนุศาสน์
  • เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
  • รับราชการกระทรวงวัฒนธรรม
  • รับราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • รับราชการกรมราชทัณฑ์ อนุศาสน์
  • ประกอบอาชีพอิสระ
  • ใช้ร่วมกับทุกอาชีพที่นักศึกษาประกอบอาชีพอยู่ก่อน
1,227 จำนวนผู้เข้าชม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ประกาศ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top